21 พฤษภาคม 2552

คิดอย่างซ้าย EP.2

สืบเนื่องจาก thesis ใน entry ก่อน นี่คือสรุปแนวคิดของหนังสือได้ดังนี้
แนวความคิดในการสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 1.แนวคิดหนังสือกับ 2.แนวทางการออกแบบ

1.แนวคิดหนังสือ
โลกเรานั้นไม่มีความสมมาตรที่แท้จริงอยู่ มิฉะนั้นจะไม่มีคนถนัดซ้าย หรือคนถนัดขวาแต่โลกเรานั้นดำรงอยู่ซึ่งสมดุลของซ้ายและขวามาโดยตลอด ในความอสมมาตรนั้นมีความสมดุลดำรงอยู่ แนวคิดนี้จึงต้องการแบ่งหนังสือออกเป็น 2 เล่ม คือเล่มซ้าย และเล่มขวา เพื่อสื่อถึงประสบการณ์ของคนถนัดซ้ายในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่คนส่วนใหญ่ถนัดขวา โดยที่ทั้งสองเล่มเย็บเชื่อมต่อกัน และสามารถรวมกันเป็นเล่มเดียว เป็นนัยยะที่แสดงให้เห็นไม่ว่าซ้ายหรือขวาเราก็ต้องอยู่ร่วมกัน


+ด้านนอกหนังสือ หน้าปกแบบประกบรวม 2 เล่ม เข้าด้วยกัน (ชื่อหนังสือด้านหน้า)
LEFT IS MORE. (THAN YOU THINK) หมายถึง ซ้ายมีอะไรมากกว่าที่คิด

+ด้านในหนังสือ แบ่งออกเป็น 2 เล่มคือ

1 WHAT IS LEFT BEHIND? ใช้การเล่นคำของคำว่า LEFT ซึ่งมีความหมายเป็นได้ทั้งซ้าย และกริยาช่องที่ 3 ของ LEAVE ซึ่งหมายถึงถูกทิ้ง เป็นนัยว่า เราทิ้งอะไรไว้ข้างหลังหรือเปล่า เป็นเล่มที่อยู่ทางด้านขวา เปิดจากซ้ายไปขวา ลักษณะการเปิดอ่านแบบญี่ปุ่น เป็นเล่มที่เล่าเรื่องราวถึงอดีต ความเชื่อ จนกระทั่งค่อยๆสืบเนื่องไปถึงสาเหตุของความถนัด โดยใจความในเล่มพูดถึงแต่เรื่องคนถนัดซ้าย เหมือนเป็นการแนะนำตนเองเป็นส่วนใหญ่ จึงจะใช้สีดำเป็นสื่อในการออกแบบ

2 HOW TO LIVE IN THE RIGHT WORLD? คำว่า RIGHT มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบเช่นเดียวกัน คือหมายถึง ขวา และความยุติธรรมถูกต้อง โดยชื่อหนังสือในเล่มนี้จะแสดงถึงความยากลำบากของการใช้ชีวิตของคนถนัดซ้าย โดยตั้งคำถามต่อตัวเองว่าจะดำรงชีวิตอยู่บนโลกเอียงขวาได้อย่างไรเล่มนี้จะอยู่ทางซ้ายมือ เปิดจากขวาไปซ้าย เป็นลักษณะการเปิดแบบหนังสือทั่วไป ซึ่งหมายความว่าคนส่วนใหญ่ที่เปิดอ่าน คือคนที่ถนัดขวาและอ่านในลักษณะปกติ ซึ่งคนถนัดซ้ายที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนั้นจะประสบปัญหาอย่างไรบ้าง โดยจะใช้สีขาวเป็นตัวแทนของความเป็นปัจจุบัน และยังหมายถึงความถูกต้องยุติธรรม (เหมือนหยิน และ หยาง) ที่เป็นรากศัพท์มาจากคำว่า RIGHT อีกด้วย

สรุป ในทั้งเล่มซ้ายและขวาจะมีการแบ่งรวมแล้วทั้งหมด 4 บทใหญ่ โดยกล่าวในเชิงอดีตและเปรียบเทียบจนถึงปัจจุบัน โดยเรียงเนื้อหาตามความเหมาะสมและต่อเนื่องกัน ใช้สีขาวและดำเป็นตัวแทนของซ้ายในอดีตและการอยู่ร่วมกันกับขวาในปัจจุบัน

2.แนวทางการออกแบบ
+การวาง PARAGRAPH



WHAT IS LEFT BEHIND? (เล่มขวา) – จัดอักษรชิดซ้าย
เพื่อสื่อแนวคิดที่บอกเล่าความเป็นตัวตนของคนถนัดซ้ายตั้งแต่อดีตจนถึงสาเหตุของความถนัดในปัจจุบัน การจัดอักษรชิดซ้าย(ในปกติมนุษย์เราอ่านจากซ้ายไปขวา การไล่สายตาแบบนั้นจึงเป็นเรื่องปกติ) ในเล่มที่เปิดแบบญี่ปุ่นนั้น เสมือนเชิงเปรียบเทียบว่าความถนัดซ้ายเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกัน ไม่ใช่ความชั่วร้ายหรือโรคที่ต้องรักษาตามความเชื่อในอดีต ซึ่งเมื่อคนปกติเปิดเล่มจากทางซ้ายไปขวา จะไม่ถนัดในการอ่าน แต่เมื่อไล่สายตาจะสามารถอ่านได้ง่ายเพราะจัดอักษรชิดซ้ายไว้นั่นเอง



HOW TO LIVE IN THE RIGHT WORLD? (เล่มซ้าย) – จัดชิดขวา
ในขวามีซ้าย ในซ้ายมีขวา เป็นการเล่าถึงความยากลำบากของคนถนัดซ้าย จึงต้องการให้ผู้ที่อ่านล้อกับเล่มขวา โดยมากเราอ่านหนังสือและเปิดจากขวาไปซ้าย และไล่สายตาจากซ้ายไปขวา แต่เปลี่ยนเป็นการจัดวางอักษรให้ชิดขวา จะรู้สึกผิดปกติมากกว่า อ่านยากมากกว่า เปรียบเสมือว่าคนถนัดซ้ายไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ได้โดยง่ายบนโลกที่ออกแบบมาเพื่อคนถนัดขวา ความรู้สึกแปลกแยกเล็กๆนี้ยังคงมีอยู่ แต่จะหายไปถ้าทุกคนทำความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน

+การประดิษฐ์สัญลักษณ์ เพื่อแบ่งหมวดหมู่ และง่ายต่อการทำความเข้าใจขณะที่อ่านอยู่ในบทนั้นๆ อีกทั้งยังสามารถจดจำได้ง่ายมากขึ้น โดย ICON ที่จะออกแบบนั้น จะแบ่งเป็น 2 ชุด หลักคือ



1 สัญลักษณ์แต่ละบท ออกแบบโดยแบ่งทั้งหมดเป็น 4 บทใหญ่ และ 1 บทย่อยที่แทรกอยู่ รวมเป็น 5 สัญลักษณ์ โดยแนวความคิดแรกมาจาก มือ เพราะมือเป็นตัวแทนความเหมือนและความแตกต่างเช่นเดียวกับทั้งซ้ายและขวาได้ชัดเจนและดีที่สุด อีกทั้งยังเข้าใจได้โดยทั่วไป เพราะลักษณะของความถนัดซ้ายหรือขวาจะอิงเกี่ยวกับการใช้งานโดยมือเป็นส่วนใหญ่
2 สัญลักษณ์เลขหน้า ตามที่ได้กล่าวไปในแนวคิดเดิมคือ ใช้มือ แทนจำนวนการนับ โดยคิดระบบสัญลักษณ์การนับขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่เลขหน้าที่ทำเพื่อง่ายต่อความสะดวกเปิดอ่าน แต่เป็นเลขหน้าที่ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ เช่นเดียวกับแนวคิดที่ได้อ้างอิงว่าคนถนัดซ้ายมีอุปสรรคการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง จึงออกแบบมาเพื่อสื่อถึงความลำบากเล็กๆน้อย เช่นเดียวกัน

+การใช้ TYPOGRAPHY การใช้ TYPOGRAPHY มาช่วยในการจัดวาง Layout และการเล่นคำ ซ้อนคำต่างๆ โดยลักษณะเด่นของ คือ มีความเป็นกราฟฟิคสูง ในขณะที่สามารถอธิบายตัวตนออกมาได้เช่นเดียวกัน การเลือกใช้ Typography จึงเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญในการทำงานชิ้นนี้

+ ภาพประกอบ มี 2 แนวทาง คือ การใช้ Illustrate ภาพวาดแบบ vector - rough cut กับอีกแนวทางคือใช้ภาพถ่ายในประกอบในหนังสือ โดยใช้ภาพสื่อแทนความหมายที่แฝงนัยยะของใจความเนื้อเรื่องไว้ ถ้าเป็นลักษณะของภาพถ่ายจากการวิเคราะห์แล้วจะให้ความรู้สึกเสมือนจริงมากกว่า เห็นภาพชัดกว่า และดูสนุกกว่า ในขณะที่ภาพแบบ Vector ให้ความรู้สึกแข็ง ระเบียบ แต่ไม่เสมือนจริง ซึ่ง 2 แนวทางนี้จะไปประกอบการพิจารณาในการออกแบบร่างต่อไป



+การออกแบบรูปเล่ม
เพื่อคำนึงถึงแนวคิดที่วางไว้ จะออกแบบรูปเล่มโดยแบ่งออกเป็น 2 เล่ม ดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น และสามารถประกบรวมกันเป็นเล่มเดียว โดยศึกษาจากหนังสือของนักออกแบบเชิงทดลองที่มีวิธีการออกแบบที่น่าสนใจนำมาประยุกต์ใช้ ในแบบร่างต่อไป

นี่แค่แนวคิด ยังไม่เข้า review เนื้อหนังด้านในเลย หนายังกับสารานุกรมบวกมหากาพย์รามเกียรติ์ก็ไม่ปาน (นี่คือที่สุดในชีวิต4ปีที่เล่าเรียนมา ช่างคุ้มค่าอะไรอย่างนี้!!)

EP.3 จะเอาเรื่องถนัดซ้ายแบบเนื้อๆ ที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง (เรียกว่า expert ยังน้อยไป ฮ่าๆ)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น